10 August 2014

“จิตสำนึกผิดชอบก็เหมือนดินสอ ที่ต้องเหลาให้แหลมคมอยู่เสมอ” 
“อย่าโยนความผิดให้คนอื่น  แต่จงรับผิดชอบชีวิตของตนในทุก ๆ ด้าน”


จิตสำนึก( ความรับผิดชอบส่วนตัว ) Personal accountability 

“In the long run, we shape our lives, and we shape ourselves. The process never ends until we die. And the choices we make are ultimately our own responsibility.” 

― Eleanor Roosevelt

คำนี้ไม่ได้แปลว่าความรับผิดชอบที่เกิดจากการได้รับมอบหมายหน้าที่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงความรับผิดชอบอันเกิดจากจิตสำนึกทางด้านศีลธรรม, จริยธรรม, และ พรหมวิหารธรรมอีกด้วย.

พรหมวิหารธรรม  คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ มี  4 อย่าง
                   1.  เมตตา    ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
                   2.  กรุณา     ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
                   3.  มุทิตา     พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
                   4.  อุเบกขา   ความวางเฉย  ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ

คำว่า  พรหม  คือ ผู้ประเสริฐ  เข้าใจกันส่วนมาก  พรหมมีวิมานอยู่ส่วนหนึ่งต่างหากจากพวกเทพ  ไม่มีคู่ครองเหมือนพวกเทพ  อยู่เดียว  พวกพราหมณ์ถือว่าเป็นต้นวงศ์ของพวกเขา  ทางพุทธศาสนาก็มีเกี่ยวเรื่องพรหมอยู่หลายที่  ผู้บำเพ็ญตนได้ฌานสมาบัติก็ว่าตายไปเป็นพรหม  ส่วนใหญ่พระพุทธเจ้ามุ่งให้ทุกคนประพฤติธรรมที่จะทำให้เป็นพรหมมากกว่า

คำว่า  วิหารธรรม  คือ  ธรรมเป็นเครื่องอยู่  หมายถึง  เอาใจเข้าหาธรรมะ  หรือเอาธรรมะเข้ามาไว้ที่ใจพูดง่ายๆ ก็คือ  ทั้งเนื้อทั้งตัวมีธรรมะ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมเข้ากันเป็น

พรหมวิหารธรรม  หมายถึง  ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่  มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ  ผู้มีคุณธรรม  4 ข้อดังกล่าวมานี้  จะอยู่ในวัยไหนก็ตาม  เรียกว่าผู้ใหญ่ทั้งนั้น  โลกจะร่มเย็นดับยุคเข็ญได้ จะเว้นธรรมเหล่านี้เสียมิได้

สรรพสัตย์ทั้งหลายในโลกย่อมมีทั้งดีและไม่ดีคละเคล้าปะปนกันไป !!

"หลักธรรม"คำสอนของ"พระพุทธองค์"นั้นได้ชื่อว่าเป็นคำสอนอันประเสริฐสุด แล้วแต่ผู้ไดที่จะได้รับอานิสงค์ของการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้นั้นไม่ใช่ว่าใครๆก็จะได้รับไปทั้งหมดและสามารถทำได้ทั้งหมด

อยู่ที่"บุคคล"นั้นจะสามารถมี"ดวงตาเห็นธรรม"จริงแท้แค่ไหนต่างหากและจะสามารถนำคำสอนนั้นมาประพฤติ-ปฏิบัติได้ครบถ้วนไม่ตกหล่นทำอยู่เป็นอาจินต์เช่นนี้ได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริงและพบหนทางเห็นการพ้นทุกข์ได้และถือว่าเป็น"คนดี"ในสังคมได้

สุดท้าย..สังคมจะดีได้ต้องอยู่ที่คนในสังคมนั้นต้องมี"คนดี"มากกว่า"คนไม่ดี"แล้วคนดีก็จะเป็น"ผู้นำ"พาสังคมนั้นไปสู่หนทางแห่งความสุข



By : Nuch-Cha Natnapatch


0 ความคิดเห็น :

Post a Comment